การจัดรูปแบบการปกครองในระหว่างที่เป็นมณฑลอุบลราชธานี


การจัดรูปแบบการปกครองในระหว่างที่เป็นมณฑลอุบลราชธานี
ใน พ.. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์   ได้ทรงตรากตรำทำงานในถิ่นที่ทุรกันดารมาเป็นเวลานานพอสมควรและพระชันษาก็มาก ควรที่จะได้ทรงพักผ่อนในบั้นปลายชีวิตบ้าง ประกอบกับตำแหน่งเสนาบดีว่างลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จกลับกรุงเทพมหานครเพื่อทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง ในเดือน พฤษภาคม ๒๔๕๓ และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรับปรุงแก้ไขการปกครองในบริเวณเมืองอุบลราชธานี ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นหลายครั้ง คือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกมณฑลอีสานออกเป็น ๒ มณฑล คือ มณฑลอุบลกับมณฑลร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.. ๒๔๕๕ ทั้งนี้เพราะมณฑลอีสานเดิมมีพื้นที่กว้างขวางมากเกินไป และจำนวนประชากรก็มากจึงเป็นการยากลำบากในการปกครองควบคุม ดูแล ให้สงบเรียบร้อยและเจริญก้าวหน้า ดังนั้นเมื่อแยกมณฑลอีสาน ๒ มณฑล แล้ว มณฑลอุบล ประกอบด้วยจังหวัดอุบลราชธานี ขุขันธ์ และจังหวัดสุรินทร์ ส่วนมณฑลร้อยเอ็ดประกอบด้วยจังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และจังหวัดมหาสารคาม
หลังจากที่โปรดเกล้าฯ ให้แยกมณฑลอีสานออกเป็น ๒ มณฑลแล้วเพียงไม่กี่เดือนกระทรวงมหาดไทยก็ได้ดำเนินการปรับปรุงการปกครองในบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น คือ ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.. ๒๔๕๕ ได้ประกาศยุบบางอำเภอที่มีจำนวนประชากรน้อยเกินไปหรือไม่ค่อยมีความเหมาะสม และประกาศลดฐานะบางอำเภอเป็นกิ่งอำเภอ
ผลจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลให้จังหวัดอุบลราชธานี มี ๑๒ อำเภอ กับ ๒ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอบูรพาอุบล อำเภอทักษิณอุบล อำเภอปจิมอุบล อำเภออุดรอุบล อำเภอพิบูลมัง-สาหาร อำเภอพนานิคม อำเภอมหาชนะไชย อำเภออุไทยยโสธร อำเภอปจิมยโสธร อำเภอเขมราฐ อำเภออำนาจเจริญ และอำเภอวารินชำราบ ส่วนอำเภอชานุมานมณฑลและอำเภอเสนางคนิคมถูกลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเขมราฐ และอำเภออำนาจเจริญตามลำดับ นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทย ก็ได้สั่งยุบอำเภอโดมประดิษฐ์เสีย ส่วนอำเภอบุณฑริกถูกลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอและให้ขึ้นกับอำเภอเดชอุดม
ใน พ.. ๒๔๕๖ ก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชื่อเรียกอำเภอต่าง ๆ ในบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเปลี่ยนชื่ออำเภอใหม่ ๖ อำเภอ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.. ๒๔๕๖ ดังนี้
อำเภอบูรพาอุบล เปลี่ยนชื่อเป็น   อำเภอเมือง
อำเภอทักษิณอุบล                 ”                   อำเภอวารินชำราบ
อำเภออุดรอุบล                     ”                   อำเภอเกษมสีมา
..อำเภอปจิมอุบล                    ”                   อำเภอตระการพืชผล
อำเภออุไทยยโสธร                ”                   อำเภอคำเขื่อนแก้ว
อำเภอปจิมยโสธร                  ”                   อำเภอยโสธร
ต่อมาในปี พ.. ๒๔๕๙ ได้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการปกครองส่วนูมิภาคที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกเมืองที่เป็นศูนย์กลางที่มีอำเภอมารวมขึ้นอยู่ด้วยนั้น เป็น จังหวัดทั้งหมด เช่น เมืองอุบลราชธานีก็เปลี่ยนเป็นจังหวัดอุบลราชธานี เมืองสุรินทร์ก็เปลี่ยนเป็นจังหวัดสุรินทร์ ฯลฯ ในทำนองเดียวกันผู้ปกครองเมืองที่เคยเรียกว่า ผู้ว่าราชการเมืองนั้นก็ให้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนับตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๕๙ เป็นต้นไป
เพื่อให้เป็นการสอดคล้องกับการประกาศเรียกนามเมืองเป็นจังหวัด ดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีประกาศเปลี่ยนแปลง  และกำหนดชื่อของจังหวัดและอำเภอเสียใหม่ทั่วพระราชอาณา-จักร เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.. ๒๔๖๐ ดังนั้นจึงปรากฏว่า บริเวณจังหวัดอุบลราชธานีมีอยู่ ๑๒ อำเภอกับ ๒ กิ่ง บางอำเภอได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่ส่วนบางอำเภอยังคงชื่อเดิม ไว้ดังนี้
อำเภอเมือง                 เปลี่ยนชื่อเป็น   อำเภอเมืองอุบล
อำเภอตระการพืชผล              ”                   อำเภอเขื่องใน
อำเภอเกษมสีมา          ”                   อำเภอม่วงสามสิบ
อำเภอโขงเจียม                    ”                   อำเภอสุวรรณวารี
อำเภอพนานิคม          ”                   อำเภอขุหลุ
อำเภอมหาชนะไชย                ”                   อำเภอฟ้าหยาด
อำเภอคำเขื่อนแก้ว                ”                   อำเภอลุมพุก
อำเภออำนาจเจริญ                ”                   อำเภอบุ่ง
อำเภอเสนางคนิคม                    ”                กิ่งอำเภอหนองทับม้า
(ขึ้นกับอำเภอบุ่ง)
๑๐. อำเภอวารินชำราบ          คงเรียกว่า               อำเภอวารินชำราบ
๑๑. อำเภอพิบูลมังสาหาร             ”                   อำเภอพิบูลมังสาหาร
๑๒. อำเภอยโสธร                คงเรียกว่า               อำเภอยโสธร
๑๓. อำเภอเขมราฐ                     ”                   อำเภอเขมราฐ
๑๔. กิ่งอำเภอชานุมาน                 ”                   กิ่งอำเภอชานุมาน
(ขึ้นกับเขมราฐ)
ส่วนในบริเวณจังหวัดขุขันธ์ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเช่นกัน ในจำนวนนี้อำเภอเดชอุดมยังคงชื่ออำเภอเดชอุดม แต่กิ่งอำเภอบัวบุณฑริกที่เคยขึ้นกับอำเภอเดชอุดมมาก่อนนั้นก็ให้ขึ้นกับอำเภอเดชอุดมไปตามเดิม แต่เปลี่ยนนามเสียใหม่ว่า กิ่งอำเภอโพนงาม
การจัดรูปแบบการปกครองในบริเวณมณฑลอุบลราชธานี ที่มีอยู่ ๓ จังหวัด และจังหวัดอุบลราชธานีแบ่งออกเป็น ๑๒ อำเภอกับ ๒ กิ่งนี้คงเป็นอยู่เช่นนี้ต่อไปจนถึงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๖๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้รวมมณฑลอุบลราชธานี มณฑลร้อยเอ็ด และมณฑลอุดรเข้าเป็นภาคเรียกว่า ภาคอีสาน ดังที่ปรากฏในพระราชโองการตอนหนึ่งว่า เวลานี้ การคมนาคมเจริญขึ้น ถึงเวลาสมควรที่จะจัดทนุบำรุงมณฑลฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ คือ มณฑลอุดร มณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบลให้ยิ่งขึ้นเพราะฉะนั้น จึงทรง โปรดเกล้าฯ ให้ยกมณฑลทั้ง ๓ ขึ้นเป็นภาค  มีอุปราชกำกับราชการดังเช่นภาคพายัพ พระราชทานนามว่า ภาคอีสานพร้อมกันนั้นก็โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระยาราชนิกุลสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลอุดรดำรงตำแหน่งอุปราชภาคอีสานอีกตำแหน่งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เอง กองบัญชาการภาคอีสานจึงตั้งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ส่วนจังหวัดอุบลราชธานียังคงเป็นที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลอยู่เช่นเดิมจนสิ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ-เกล้าเจ้าอยู่หัว
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยสาเหตุที่ประเทศตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างร้ายแรง  จึงโปรดเกล้าฯ  ให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองในส่วนภูมิภาคหลายประการ  สำหรับจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครอง  การเก็บส่วยสา-อากร ฯลฯ มานับตั้งแต่แรกตั้งเมือง พ.. ๒๓๓๕ และเป็นที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลมาโดยตลอด ก็ถูก ลดฐานะลงเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของมณฑลราชสีมา ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.. ๒๔๖๘ เป็นต้นมา และก็คงอยู่ในสภาพเช่นนี้มาตลอดมา จนกระทั่งมีการยุบเลิกมณฑลทั้งหมดใน พ.. ๒๔๗๖
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ในบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีทั้งจัดตั้งอำเภอ การยุบหรือลดฐานะอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอตามความเหมาะสมและที่สำคัญที่สุด คือ  ใน พ.. ๒๕๑๕  รัฐบาลได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๗๐ ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ ยกฐานะอำเภอยโสธรขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยแยกอำเภอต่าง ๆ ที่เคยขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี ๕ อำเภอ คือ อำเภอยโสธร คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย ป่าติ้วและอำเภอเลิงนกทา รวมเป็นจังหวัดยโสธรอันเป็นผลให้จำนวนพื้นที่ และ จำนวนพลเมืองของจังหวัดอุบลราชธานีต้องลดไปบ้าง หลังจากนั้นแล้วก็ได้มีการจัดตั้งอำเภอใหม่ในบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีอีกหลายอำเภอจนถึง พ.. ๒๕๒๗ จังหวัดอุบลราชธานีจึงแบ่งการ     ปกครองออกเป็น ๑๙ อำเภอ ๒ กิ่งอำเภอ
สรุปความเป็นมาเกี่ยวกับการจัดการปกครองของจังหวัดอุบลราชธานี ถึงในสมัยรัตน-โกสินทร์ตอนต้น จังหวัดอุบลราชธานีมีฐานะเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งที่ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และมีเมืองในปกครองหลายเมืองเป็นเมืองที่มีบทบาทและมีความสำคัญต่อเมืองต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เป็นศูนย์กลางการปกครองและการเก็บส่วยสาอากรและอื่น ๆ    การจัดการปกครองภายในก็จะมีคณะผู้ปกครองสูงสุดของเมืองเรียกว่า คณะอาญาสี่ หรืออาชญาสี่ ซึ่งประกอบด้วยตำแหน่งเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ และราชบุตร ทำหน้าที่ปกครองตามแบบอย่างที่สืบทอดมาจากกลุ่มชนที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศลาวที่อพยพมาอยู่ในภูมิภาคนี้
ในช่วงแห่งการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า-อยู่หัวนั้น จังหวัดอุบลราชธานีได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองภายใน จากระบบที่คณะอาญาสี่เป็นคณะผู้ปกครองสูงสุดเป็นระบบที่มีเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนันผู้ใหญ่บ้าน และเป็นระบบที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีเพียงตำแหน่งเจ้าเมืองเท่านั้นที่ได้เปลี่ยนแปลง เป็นผู้ว่า-ราชการจังหวัด สำหรับเมืองอุบลราชธานีก็เป็นศูนย์กลางการปกครองเช่นเดียวกับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  เพราะได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลมาโดยตลอด  นับตั้งแต่มีการปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่เป็นต้นมา จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจวบจนกระทั่งได้มีการยุบเลิกมณฑลอุบลราชธานี ใน พ.. ๒๔๖๘
นับได้ว่าจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในระบบและสิ่งต่าง ๆ จนกลายเป็นจังหวัดที่มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมจังหวัดต่าง ๆ ของเมืองไทยในปัจจุบันหลายจังหวัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น