สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๔๑๑)


สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (.. ๒๓๒๕-๒๔๑๑)
การตั้งเมืองอุบลราชธานีและเมืองใกล้เคียง ใน .. ๒๓๒๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระ-พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช    สถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีนั้น พระประทุมวรราชสุริยวงศ์เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก พร้อมด้วยครอบครัวไพร่พลยังคงตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เวียงดอนกอง แขวงเมืองนครจำปาศักดิ์   แต่ด้วยเหตุว่าตั้งแต่ .. ๒๓๑๐    ที่กรุงศรีอยุธยาต้องพ่ายแพ้แก่พม่าเป็นต้นมาตลอดสมัยกรุงธนบุรี บ้านเมืองต้องตกอยู่ในภาวะสงครามโดยตลอด ทำให้ไพร่บ้านพลเมืองต้องได้รับความเดือดร้อนและหลบหนีภัยสงครามไปอาศัยอยู่ตามป่าเขากระจัดกระจายอยู่ทั่ว ไปนั้น พระ-บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงมีพระราชประสงค์ที่จะรวบรวมพลเมืองเพื่อเป็นกำลังของประเทศ  จึงมีพระบรมราโชบายให้เจ้าเมืองหรือบุคคลสำคัญในกลุ่มชนต่าง      ออกไปเกลี้ยกล่อมผู้คนที่หลบหนีภัยสงคราม ที่ได้กระจัดกระจายอยู่ตามป่าเขา ให้มารวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนโดยที่ทรงมีพระราชกำหนดว่าหากเจ้าเมืองใดหรือบุคคลใดสามารถรวบรวมไพร่พลได้มาก จนเมืองที่ตนปกครองมีความมั่นคงขึ้นหรือสามารถนำครอบครัวไพร่พลไปตั้งเมืองเป็นปึกแผ่นมั่นคงใหม่ได้ ก็จะได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมือง ซึ่งเจ้าเมืองก็จะสามารถเรียกเก็บทรัพย์เศษส่วนและได้ผู้คนไพร่พลไว้ใช้สอยมากขึ้น ดังนั้นจึงมีผู้รวบรวมไพร่พลตั้งหลักแหล่งมั่นคง จนได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้นเป็นเมือง และผู้รวบรวมได้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นจำนวนมาก ดังที่ปรากฏว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งเมืองขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก
          ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้ว ใน .. ๒๓๒๙ พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง) จึงได้พาครอบครัวไพร่พลจากเวียงดอนกองมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่ บริเวณห้วยแจระแม (ปัจจุบันคือบริเวณบ้านท่าบ่อ)   อันเป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำมูล  ได้อาศัยอยู่    บริเวณห้วยแจระแมด้วยความปกติสุขมาเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่ง .. ๒๓๓๔ อ้ายเชียงแก้วผู้อาศัยอยู่ ตำบลเขาโอง แขวงเมืองโขง (ปัจจุบันอยู่ในดินแดนของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตั้งตนเป็นผู้วิเศษ มีผู้คนนับถือเป็นจำนวนมาก ประกอบกับในช่วงเวลาเดียวกันนั้น พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์กำลังป่วยหนักอยู่ อ้ายเชียงแก้วเห็นเป็นโอกาสดีจึงคิดกบฏ ยกกองกำลังเข้าล้อมเมืองนครจำปาศักดิ์  พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารไม่คิดต่อสู้อาการป่วยก็ยิ่งทรุดลงและถึงแก่พิราลัยในที่สุด    อ้ายเชียงแก้วจึงเข้ายึดเมืองนครจำปาศักดิ์ได้
          เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงทราบข่าวกบฏอ้ายเชียงแก้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เมื่อครั้งเป็นพระยาพรหมภักดียกกระบัตรเมืองนครราชสีมายกกองทัพไปปราบอ้ายเชียงแก้ว ขณะที่กองทัพเมืองนครราชสีมาไปยังไม่ถึงนั้น พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง) และท้าวฝ่ายหน้าผู้น้อง ซึ่งตั้งหลักแหล่งอาศัยอยู่ที่บริเวณบ้านสิงทา (บริเวณอำเภอเมืองยโสธรในปัจจุบัน) ได้นำกองกำลังไปปราบอ้ายเชียงแก้วอยู่ก่อนแล้ว มีการต่อสู้กันหลายครั้ง มีการรบครั้งใหญ่ที่บริเวณแก่งตะนะ (อยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน) กองกำลังของฝ่ายอ้ายเชียงแก้วแตกพ่ายไป อ้ายเชียงแก้วถูกจับได้ และถูกประหารชีวิต เมื่อกองทัพเมืองนครราชสีมาไปถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ เหตุการณ์สงบเรียบร้อยแล้ว จึงยกกองทัพไปปราบปรามพวกข่า ชาติกระเสง สวาง จะรวย ระแดร์) ที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ฝั่งตะวันออกของลำน้ำโขง และสามารถจับพวกข่าเป็นเชลยได้เป็นจำนวนมาก
          ด้วยความสามารถในการนำทัพของพระปทุมฯ (ท้าวคำผง)   และท้าวฝ่ายหน้าผู้น้อง  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ    แต่งตั้งให้ท้าวฝ่ายหน้าเป็นเจ้าพระ-วิไชยราชขัตติยวงศาครองเมืองนครจำปาศักดิ์ พระปทุมสุรราชเป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ครองเมืองอุบลราชธานี พร้อมกันนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านแจระแมขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานี ตามนามพระประทุมฯ ขึ้นต่อกรุงเทพฯ (คงเป็นทำนองเดียวกับบ้านคูปะทายสมัน ที่เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสุรินทร์ ตามนามของหลวงสุรินทร์ภักดีเจ้าเมืองนั่นเอง) เมื่อวันจันทร์แรม ๑๓ ค่ำ เดือน จุลศักราช ๑๑๕๔ (.. ๒๓๓๕) ดังปรากฏในจดหมายเหตุทรงตั้งเจ้าประเทศราช สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นความว่า ด้วยพระบาทสมเดจ์พระพุทเจ้าอยู่หัวผู้พานพิภพกรุงเทพพระมหาณครศรีอยุทธยา มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ตั้งให้พระประทุมเปนพระประทุมววรราชสุริยวงษ ครองเมืองอุบล-ราชธานีศรีวะนาไล ประเทษราชเศกให้    วัน  ๒ฯ๘ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๕๔ ปีชวด จัตวาศก ()
                                                                         ๑๓
          อย่างไรก็ดี แม้ว่าในจดหมายเหตุกำหนดให้เมืองอุบลราชธานี มีฐานะเป็นเมืองประเทศ-ราชก็ตาม แต่ในกฏมณเฑียรบาลที่กล่าวถึงรายชื่อเมืองประเทศราชในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธ-ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ไม่ปรากฏชื่อเมืองอุบลราชธานีเป็นเมืองประเทศราชไว้ด้วยและในทางปฏิบ้ติแล้ว ไม่ปรากฏว่าเจ้าเมืองอุบลราชธานีต้องส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองถวาย เพื่อแสดงความจงรักภักดีปีละครั้ง หรือสามปีต่อครั้งเฉกเช่นเจ้าประเทศราชทั่วไปแต่อย่างใด คงเพียงแต่ให้ส่งส่วยปีละครั้ง ตามที่กำหนดไว้ คือ ส่วยผึ้ง เลขต่อเบี้ย น้ำรัก ขวดต่อเบี้ยป่าน เลขต่อขวด ()
          หลังจากที่พระประทุมวรราชสุริวงศ์ได้รับแต่งตั้งครองเมืองอุบลราชธานี แล้วไม่นานและเนื่องด้วยความเหมาะสมตามสภาพภูมิศาสตร์ จึงย้ายครอบครัวไพร่พลไปตั้งเมืองใหม่ในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูลที่เรียกกันว่า ดงอู่ผึ้ง อันเป็นที่ตั้งเมืองอุบลราชธานี ในปัจจุบันพร้อมทั้งสร้าง วัดหลวง ขึ้นเป็นวัดคู่เมืองดังที่ปรากฏจนถึงปัจจุบัน
          อาณาเขตของเมืองอุบลราชธานี เมื่อแรกตั้งปรากฏในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานว่า ทิศเหนือถึงน้ำยังตกลำน้ำพาชีไปยอดบังอี่ ตามลำบังอี่ไปถึงแก่งตนะ ไปภูจอกอ ไปช่องนาง ไปยอด ห้วยอะลีอะลองตัดไปดงเปื่อยไปสระดอกเกศ ไปตามลำกะยุงตกลำน้ำมูลปันให้เมืองสุวรรณภูมิ ฝ่ายเหนือหินสิลาเลข หนองกองแก้วตีนภูเขียว ทางใต้ปากเสียวตกลำน้ำมูล ยอดห้วยกากวากเกี่ยวชีปันให้เมืองขุขันธ์ แต่ปกห้วยทัพทันตกมูลภูเขาวงก์ ()
          จากอาณาเขตเมืองอุบลราชธานีที่ปรากฏ ก็พอจะเห็นได้ว่า การแบ่งอาณาเขตเมืองในสมัยก่อนนั้นใช้เส้นเขตแดนธรรมชาติเช่นภูเขา แม่น้ำ ลำห้วย เป็นเกณฑ์ และอาณาเขตของเมืองอุบลราชธานีในระยะแรกตั้งนั้นก็ไม่แตกต่างไปจากอาณาเขตของจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบันมากนัก
          จากนั้นเป็นต้นมาถึง .. ๒๔๒๘ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-พระบรมราโชบายในการตั้งเมืองเป็นไปในทำนองเดียวกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา-โลกมหาราช ดังที่ปรากฏว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มีการจัดตั้งเมืองขึ้นเป็นจำนวนมาก และขั้นตอนในการจัดตั้งเมืองนั้นก็ไม่สลับซับซ้อนนัก เพียงแต่ให้ผู้ที่มีความประสงค์จะตั้งเมืองขึ้นใหม่ รวบรวมผู้คนให้ได้จำนวนพอควรพร้อมทั้งเลือกหาทำเลที่ตั้งเมืองให้เหมาะสม แล้วให้เจ้าเมืองใหญ่ที่ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ทำหนังสือแจ้งความจำนงไปยังสมุหมหาดไทย ผู้ปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต ซึ่งส่วนมากก็จะได้รับพระบรมราชานุญาตดัง-ประสงค์
          ในช่วงนี้ ในอาณาบริเวณเมืองอุบลราชธานี (อาณาเขตจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน) มีการตั้งเมืองขึ้นใหม่เป็นจำนวน ๑๖ เมือง เรียงตามลำดับดังนี้
          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านสิงทาเป็นเมืองยโสธร ตั้งบ้านโคกคงพะเบียงเป็นเมืองเขมราษฎร์ธานี (อำเภอเขมราฐในปัจจุบัน) เมื่อ .. ๒๓๕๗  และตั้งบ้านนาค้อเป็นเมืองโขงเจียม เมื่อ .. ๒๓๖๔ โดยกำหนดให้เมืองยโสธร และเมืองเขมราฐ ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ ส่วนเมืองโขงเจียมขึ้นตรงต่อเมืองนครจำปาศักดิ์
          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านช่องนางเป็นเมืองเสนางค-นิคม ตั้งบ้านน้ำโดมใหญ่เป็นเมืองเดชอุดม ตั้งบ้านคำเมืองแก้วเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว เมื่อ .. ๒๓๘๘ และตั้งบ้านดงกระชุเป็นเมืองบัว (บุณฑริก) ใน .. ๒๓๙๐ โดยกำหนดให้เมืองเสนางนิคมขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี เมืองเดชอุดมขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เมืองคำเขื่อนแก้ว ให้ขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ ส่วนเมืองบัวให้ขึ้นต่อเมืองนครจำปาศักดิ์
          พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านค้อใหญ่เป็นเมืองอำนาจเจริญ ใน .. ๒๔๐๑ และตั้งบ้านกว้างลำชะโดเป็นเมืองพิบูลมังสาหาร ตั้งบ้านสะพือเป็นเมืองตระการพืชผล ตั้งบ้านเวินไชยเป็นเมืองมหาชนะไชย ใน .. ๒๔๐๖ โดยกำหนดให้เมืองอำนาจเจริญ ขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ ส่วนเมืองพิบูลมังสาหาร เมืองตระการพืชผล  เมืองมหาชนะไชย ให้ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี
          ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านท่ายักขุเป็นเมืองชาณุมารมณฑล ตั้งบ้านเผลาเป็นเมืองพนานิคม ใน .. ๒๔๒๒ โดยกำหนดให้ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานีทั้งสองเมือง ตั้งบ้านนากอนจอเป็นเมืองวารินชำราบ ใน .. ๒๔๒๓ ตั้งบ้านจันลา-นาโดมเป็นเมืองโดมประดิษฐ์ ใน .. ๒๔๒๔ และตั้งบ้านทีเป็นเมืองเกษมสีมา ใน .. ๒๔๒๕ โดยกำหนดให้เมืองวารินชำราบและเมืองโดมประดิษฐ์ขึ้นตรงต่อเมืองนครจำปาศักดิ์ ส่วนเมืองเกษมสีมาให้ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี
          กล่าวโดยสรุปในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน (และบางส่วนของจังหวัดยโสธรที่เคยขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี ก่อน .. ๒๕๑๕) ได้มีการตั้งเมืองขึ้นทั้งหมด ๑๗ เมือง เป็นเมืองใหญ่ที่ขึ้นต่อกรุงเทพฯ เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ และเมืองเดชอุดม นอกนั้นก็เป็นเมืองเล็ก เทียบได้กับเมืองจัตวาที่ขึ้นกับเมืองใหญ่ เหล่านี้อีก ๑๓ เมือง กล่าวคือ  เมืองคำเขื่อนแก้ว  เมืองอำนาจเจริญขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ  เมืองเสนางคนิคม  เมืองพิบูลมังสาหาร  เมืองตระการพืชผล  เมืองมหาชนะไชย  เมืองชาณุมารมณทล  เมืองพนานิคม  เมืองเกษมสีมา ขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี และเมืองโขงเจียม เมืองบัว (บุณฑริก) เมืองวารินชำราบ เมืองโดมประดิษฐ์ ขึ้นตรงต่อเมืองนครจำปาศักดิ์
          เกี่ยวกับการตั้งเมืองดังที่กล่าวมาแล้วมีข้อสังเกตได้หลายประการ กล่าวคือ ประการแรกอำเภอต่าง ในจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะได้รับการยกฐานะให้เป็นเมืองมาแล้วตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประการที่สอง การจัดการปกครองดูแลเมืองใดขึ้นกับเมืองใดนั้นไม่เป็นระบบที่แน่นอนหรือตายตัวเท่าใดนัก และไม่ได้คำนึงถึงความเหมาะสมตามสภาพภูมิศาสตร์ เช่น กำหนดให้เมืองเสนางคนิคมขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี เมืองอำนาจเจริญขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐ หรือที่กำหนดให้พิบูลมังสาหารขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี ส่วนเมืองวารินชำราบขึ้นตรงต่อเมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นต้น ทั้งนี้คงเป็นเพราะการคมนาคมไม่สะดวกยากลำบาก จึงไม่สามารถนำเอาเรื่องการคมนาคมมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดว่าเมืองใดควรจะขึ้นกับเมืองใดได้ จึงเพียงแต่คำนึงถึงว่าเจ้าเมืองที่จะตั้งขึ้นใหม่เคยสังกัดอยู่กับเมืองใด เมื่ออพยพครอบครัวไพล่พลไปตั้งเมืองขึ้นใหม่ ก็จะขอขึ้นกับเมืองเดิม ทั้งนี้คงเพื่อความสะดวกในการส่งส่วยสาอากร หรือไม่ก็คำนึงถึงลำดับเครือญาติของแต่ละเมืองเป็นสำคัญ
การจัดระบบการปกครองภายใน  การจัดการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองดูแลหัวเมืองต่าง   ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ได้แบ่งความรับผิดชอบไว้ ดังนี้  คือ     สมุหพระกลาโหม  ดูแลบ้านเมืองปักษ์ใต้และตะวันตก  สมุหนายก  ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ  กรมท่า  ปกครองดูแลหัวเมืองชายทะเล ส่วนใหญ่เป็นหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออกที่มีเรือไปมาค้าขาย    มาก สำหรับเมืองอุบลราชธานี เมืองขึ้น และเมืองใกล้เคียงอยู่ในความปกครองดูแลของสมุหนายก เมืองต่าง ตามเมืองหรือส่วนภูมิภาคโดยทั่วไป มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทำหน้าที่ปกครองดูแลให้ไพร่บ้านพลเมืองมีความร่มเย็นเป็นสุขต่างพระเนตรพระกรรณ อีกทั้งคอยกราบบังคมทูลรายงานสภาพและเหตุการณ์ในหัวเมืองที่ตนปกครอง เจ้าเมืองทำหน้าที่ทั้งผู้ปกครอง หัวหน้าผู้พิพากษา เป็นแม่ทัพในเวลาที่มีสงคราม ฯลฯ  นอกจากตำแหน่งเจ้าเมืองแล้วก็ยังมีตำแหน่งผู้ปกครองหรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงในเมืองต่าง โดยทั่วไป คือมีปลัดเมืองมหาดไทย ยกกระบัตรเมือง ฯลฯ
          อย่างไรก็ดี ตำแหน่งผู้ปกครองเมืองในส่วนภูมิภาคตามหลักการดังกล่าว มิได้หมายรวมถึงเมืองอุบลราชธานี เมืองขึ้นหรือเมืองใกล้เคียงในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้เพราะตำแหน่งผู้ปกครองเมืองอุบลราชธานี เมืองใกล้เคียง ในดินแดนภาคอีสานจะมีลักษณะที่แปลกและแตกต่างไปจากตำแหน่งผู้ปกครองเมืองต่าง ในภูมิภาคอื่น กล่าวคือ มิได้มีตำแหน่งเจ้าเมือง ปลัดเมืองยกกระบัตรเมืองเหมือนเช่นเมืองโดยทั่วไป แต่มีการจัดโครงสร้างระบบการปกครองภายในที่ถือธรรมเนียมการปกครองภายในมาจากประเทศลาวในสมัยนั้น โดยจัดแบ่งระดับตำแหน่งการปกครองภายในออกเป็น ระดับ แต่ละระดับก็มีหลายตำแหน่งด้วยกัน คือ
ตำแหน่งอาญาสี่หรืออาชญาสี่ เป็นคณะผู้ปกครองสูงสุดของแต่ละเมือง มีอยู่ ๔ ตำแหน่ง คือ
เจ้าเมือง  เป็นผู้ปกครองสูงสุดทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของพลเมือง มีอำนาจสิทธิขาด ในการบังคับบัญชาสั่งการโดยทั่วไปยกเว้นอำนาจสิทธิขาดในการบางอย่าง เช่น การตัดสินประหารชีวิตโจรผู้ร้ายในคดีอุกฉกรรจ์ (นอกจากเวลาที่มีศึกสงคราม) เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเขตแดนเมือง เรื่องการสงครามหรือการแต่งตั้งกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ เช่น อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร แต่มีอำนาจแต่งตั้งกรมการระดับรองลงมา ตั้งแต่เมืองแสน เมืองจันทร์ลงไปจนถึงจ่าบ้าน
อุปฮาด  มีอำนาจหน้าที่แทนเจ้าเมืองได้ทุกอย่าง ขณะที่เจ้าเมืองไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ส่วนหน้าที่โดยตรงก็คือ รวบรวมสำมะโนครัว ตัวเลข จัดทำรวบรวมบัญชีส่วย อากร เร่งรัด การจัดเก็บส่วยในแต่ละปี พร้อมทั้งจัดส่งส่วยสาอากรให้เมืองราชธานีให้ทันตามกำหนด ตลอดจนการเกณฑ์ไพร่ พลเมืองไปทำสงคราม
ราชวงศ์  ยามที่บ้านเมืองเป็นปกติสุข ราชวงศ์ จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของเจ้าเมืองและอุปฮาด และผลัดเปลี่ยนกับราชบุตรในการนำเงินส่วยและสิ่งของส่วยส่งเมืองราชธานี ตลอดจนรวบรวมบัญชีไพร่บ้านพลเมืองที่เป็นชายฉกรรจ์ที่ควรจะจัดเข้าเป็นพลทหารสำหรับเมืองนั้น ในยามสงครามราชวงศ์ทำหน้าที่เป็นแม่ทัพที่สำคัญควบคุมไพร่พลออกทำการศึกหรืออาจทำหน้าที่เกณฑ์ไพร่พล จัดหาเสบียงอาหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง เพิ่มเติม
ราชบุตร  มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับราชวงศ์  กล่าวคือ  ทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกับราชวงศ์ ทั้งในการส่งส่วยของหลวง การสงครามอื่น เป็นต้นว่า ถ้าราชวงศ์เป็นผู้ควบคุมกำลังไพร่พลออกไปทำสงคราม ราชบุตรก็จะทำหน้าที่เกณฑ์ไพร่พลจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ และเสบียงอาหารเพิ่มเติม
ในคณะอาชญาสี่หรืออาญาสี่ของแต่ละเมือง จะจัดตำแหน่งการปกครองและการควบคุมออกเป็น ๔ กอง คือ กองเจ้าเมือง กองอุปฮาด กองราชวงศ์ กองราชบุตร โดยให้ราษฎรเลือกขึ้นทะเบียนไพร่พลในกองใดกองหนึ่งตามความสมัครใจ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการปกครองควบคุมดูแลเป็นอย่างมากเพราะแต่ละกองต่างก็มุ่งหาไพร่พลมาขึ้นสังกัดกองของตนให้มากที่สุด  โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาที่ไพร่บ้านพลเมืองอาศัยอยู่ เมื่อถึงเวลาเก็บส่วยสาอากรจึงเกิดความสับสน  เพราะไม่ทราบชัดเจนว่าไพร่ที่อาศัยอยู่เขตพื้นที่ใด ขึ้นสังกัดกับกองใด เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มดำเนินการปฏิรูปการปกครองในระยะแรก จึงได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาแก้ไขก่อนปัญหาอื่น ๆ
ตำแหน่งอาชญาสี่หรืออาญาสี่นี้นับเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญมาก เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ก็โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอาญาสี่พร้อมกันไป หรือเมื่อตำแหน่งใดว่างลง ก็จะโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เหมาะสม เช่น กรณี ตั้งเมืองยโสธร ใน .. ๒๓๕๗ ก็โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ราชวงศ์ (สิง) เมืองโขงเป็นที่พระสุนทรราชวงษา เจ้าเมือง ให้ท้าวสีชา (หรือสีกา) เป็นอุปฮาด ให้ท้าวบุตร เป็นราชวงศ์ให้ท้าวสนเป็นราชบุตร และในกรณีเจ้าเมืองอุบลราชธานีว่างลง เมื่อมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ ใน .. ๒๓๘๘ นอกจากโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้อุปฮาด (กุทองเป็นพระพรหม-ราชวงศาเจ้าเมืองแล้ว ก็โปรดเกล้าฯ ให้ราชวงศ์ เป็นอุปฮาดให้ท้าวโพธิสาร หลานพระพรหมราชวงศา-(กุทอง) เป็นราชวงศ์ และให้ท้าวสุริย บุตรพระพรหมราชวงศา (กุทอง) เป็นราชบุตร พร้อม กันไปด้วย ส่วนการแต่งตั้งเจ้าเมืองเล็ก ที่ขึ้นกับเมืองใหญ่นั้นเจ้าเมืองใหญ่ที่ทำหน้าที่ปกครองดูแลเมืองเหล่านั้นจะเป็นผู้ทำหนังสือขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอตั้งเจ้าเมือง และแต่งตั้งอุปฮาด ราชวงศ์  ราชบุตร พร้อมกันด้วย ดังจะเห็นได้จากเมื่อเจ้าเมืองโขงเจียมถึงแก่กรรมใน .. ๒๔๐๒ เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตรเมืองเขมราฐ ได้ประชุมปรึกษาหารือกับท้าวเพียกรมการเมืองโขงเจียม หาผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นเจ้าเมืองคนต่อไปแล้วรายงานต่อสมุหนายก เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูล และทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
ตำแหน่งอาญาสี่สำหรับเมืองเล็ก เทียบได้กับเมืองจัตวา ที่มิได้ขึ้นกับกรุงเทพฯ โดยตรง หากขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี เมืองเขมราฐ อันเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ แล้วตำแหน่งอาญาสี่ก็จะเรียกเป็นเจ้าเมือง อัครฮาด อัครวงศ์ อัครบุตร  ดังเช่น อาญาสี่เมืองเสนางคนิคมเป็นต้น
. ตำแหน่งผู้ช่วยอาชญาสี่หรือผู้ช่วยอาญาสี่ มีหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่าง ตลอดจนควบคุมดูแล การปฏิบัติงานในแผนกการต่าง แทนอาญาสี่ตามความเหมาะสม มีอยู่ ตำแหน่งด้วยกันคือ
ท้าวสุริย หรือท้าวขัตติยะ
ท้าวสุริโย
ท้าวโพธิสาร
..ท้าวสุทธิสาร
ตำแหน่งขื่อบ้านขางเมือง  เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญ รองลงมาจากคณะผู้ช่วยอาญาสี่ มี ๑๗ ตำแหน่ง คือ
เมืองแสน ทำหน้าที่กำกับการฝ่ายทหาร
เมืองจันทร์ ทำหน้าที่กำกับการฝ่ายพลเรือน
นอกจากหน้าที่ดังกล่าวนี้แล้ว เมืองแสน เมืองจันทร์ ยังมีหน้าที่ ต้องรับผิดชอบร่วมกัน คือ ออกหนังสือเดินทางแก่ราษฎรที่จะเดินทางไปมาค้าขายยังเขตแขวงต่าง ๆ จัดทำรายงานและใบบอกเกี่ยวกับราชการทั่ว ๆ ไปที่จะต้องส่งไปยังเมืองหลวง เป็นตุลาการในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของราษฎรโดยทั่ว ๆ ไป ดูแลจัดแจง ว่ากล่าว ท้าวฝ่าย ตาแสง และจ่าบ้าน ให้ดูแลทุกข์สุขของราษฎรให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่กดขี่ข่มเหง รังแกซึ่งกันและกัน ตลอดจนการติดตามจับกุมโจรผู้ร้ายที่เกิดขึ้นในเมืองนั้น ๆ ด้วย
เมืองขวา เมืองซ้าย เมืองกลาง ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาการเกี่ยวกับนักโทษในเมือง เป็นต้นว่า รักษาบัญชีนักโทษ ดูแลนักโทษ ปล่อยหรือขังนักโทษ จัดทำที่ขังหรือซ่อมแซมที่กักขังนักโทษ ตลอดจนดูแลวัดวาอาราม ที่ควรจะปฏิสังขรณ์ หรือก่อสร้างขึ้นใหม่ เป็นผู้กำกับการสัก-เลก และรักษาบัญชีเลกเขยสู่จากต่างเมืองด้วย
เมืองคุก เมืองฮาม เมืองแพน ทำหน้าที่ควบคุมระวังนักโทษโดยเฉพาะไม่ให้นักโทษหนีไปได้ ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับ พะทำมะรง หรือเรียกว่า พัสดี ในปัจจุบัน
นาเหนือ นาใต้ ทำหน้าที่จัดหาเก็บเสบียงอาหารไว้ในยุ้งฉางของเมือง เพื่อใช้ในยามเกิดศึกสงคราม เป็นผู้ออกเดินเก็บส่วยในเขตเมืองของตนหรือ ออกไปเก็บเงินส่วยจากไพร่พลที่อพยพไปมีบุตรภรรยาอยู่ที่เมืองอื่น โดยมีภูมิลำเนาเดิมอยู่แล้วหรืออาจจะยังไม่มีภูมิลำเนาก็ตาม ต้องถือว่าเป็นเลกเขยสู่ ซึ่งเรียกกันว่า  การเดินทุ่ง  มารวมส่งที่เมืองที่ตนสังกัดอยู่เดิม นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สำรวจสำมะโนครัวในเมืองของตน โดยกำหนดประมาณ ปีต่อครั้ง เป็นผู้ควบคุมดูแลรักษาสัตว์พาหนะ เป็นผู้ลงบัญชีจำหน่าย เลก ในกรณีสูญหาย ตาย พิการหรืออุปสมบทเป็นต้น
ซาเนตร  ซานนท์  สองตำแหน่งนี้เป็นเสมียนของเมือง ถ้าจะเปรียบเทียบกับปัจจุบันคล้ายกับ เสมียนตราจังหวัด
. ซาบัณฑิต   ทำหน้าที่เกี่ยวกับการอ่านท้องตราที่ส่งมาจากเมืองใหญ่อ่านประกาศของเจ้าเมืองหรือกรมการเมืองผู้ใหญ่ในเวลาที่มีการประชุม ศาลากลางเมือง เช่น อ่านประกาศ แช่งน้ำในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา  ประกาศตั้งชื่อกรมการเมืองชั้นผู้น้อยที่เจ้าเมืองอุปฮาด ราชวงศ์ได้แต่งตั้งขึ้น เป็นผู้รวบรวมรายงานกิจต่าง   ของเมือง  และคำนวณศักราช  วันเดือน  ปีในแต่ละปี  เช่น  การประกาศสงกรานต์  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่รักษาห้องสมุดแต่งตำราต่าง   ของเมืองอีกด้วย
. มหาเสนา มหามนตรี  เป็นหัวหน้าซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกคำสั่งนัดประชุมหารือข้อราชการ หรือการกำหนดการทำพิธีต่าง ของเมือง
.   กรมเมือง ทำหน้าที่รักษาประเพณีของเมือง
๑๐. สุโพ (บางทีเขียนเป็นสุโภ-ผู้เขียนเป็นแม่ทัพของเมือง   อันเป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายทหาร ถ้าเป็นเมืองใหญ่จะมียศพระยานำหน้า เช่น พญาสุโพหรือพระยาสุโพ
ตำแหน่ง ขื่อบ้าน ขางเมือง ตั้งแต่เมืองแสน เมืองจันทร์ ลงไปจนถึงสุโพ ถ้าหากเป็นเมืองเอกราชหรือเมืองที่มีพระมหากษัตริย์ปกครอง ก็เรียกว่า พญาหรือพระยา ทั้งสิ้น เช่น พระยาเมืองแสน พระยาเมืองจันทร์ หรือพระยาสุโพ เป็นต้น หากเป็นหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา ตำแหน่งเหล่านี้ก็ใช้คำว่า เพียหรือเพี้ยนำหน้าเสมอเช่น เพียเมืองแสน เพียเมืองจันทร์ เพียเมืองขวา เป็นต้น
ตำแหน่งพิเศษ นอกจากตำแหน่งต่าง ดังกล่าวแล้ว ยังมีตำแหน่งพิเศษอีกหลายตำแหน่ง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นตามความจำเป็น เช่น
เพียซาโนชิต ซาภูธร ราชต่างใจ คำมงคุณ เป็นผู้มีหน้าที่ใกล้ชิดกับเจ้าเมืองซึ่งอาจจะเปรียบได้กับองครักษ์หรือคนสนิท
เพียซาบรรทม เป็นผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดที่นอนของเจ้าเมือง
เพียซาตีนแท่นแล่นตีนเมือง เป็นพนักงานติดตามเจ้าเมือง
เพียซาหลาบคำ  มีหน้าที่เชิญพระแสง  หรือดาบของเจ้าเมือง   (น่าจะเป็นซาดาบคำ-ผู้เขียน)
เพียซามณเฑียร มีหน้าที่รักษาพระราชฐาน วัง หรือปราสาทของเจ้าเมือง
เพียซาบุฮม มีหน้าที่เกี่ยวกับกั้นกลดหรือพัดจามรให้แก่เจ้าเมือง
เพียซามาตย์อาชาไนย มีหน้าที่เกี่ยวกับการช่างการก่อสร้างหรือวิศวกรรม
เพียแขกขวาเพียแขกซ้าย มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับแขกเมือง
. เพียศรีสุนนท์ เพียศรีสุธรรม เพียศรีบุญเฮือง เพียศรีอัครฮาด และเพียศรี-อัครวงศ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาและการพระศาสนาของเมือง
ตำแหน่งผู้ปกครองระดับหมู่บ้าน มีอยู่ ๔ ตำแหน่ง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับตำแหน่งการปกครองในปัจจุบัน ก็คือ
ท้าวฝ่าย เทียบเท่ากับตำแหน่งนายอำเภอในปัจจุบัน
าแสง เทียบได้กับตำแหน่งกำนันในปัจจุบัน
พ่อบ้านหรือนายบ้าน เทียบเท่ากับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน
จ่าบ้าน เทียบเท่ากับสารวัตรหมู่บ้านหรือสารวัตรประจำตำบลในปัจจุบัน
การแบ่งแยกตำแหน่งหน้าที่ดังกล่าว เห็นได้ว่าการจัดระบบการปกครองภายในเมืองอุบลราชธานีในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนพอสมควร การจำแนกหน้าที่อาจมีการซ้ำซ้อนกันบ้าง หากเป็นการร่วมกันรับผิดชอบในหน้าที่นั้น ๆ มากกว่าจะเป็นการแบ่งแยกหน้าที่กันอย่างเด็ดขาด


()   หอพระสมุดวชิรญาณจดหมายเหตุรัชกาลที่    .. ๑๑๕๔ (.. ๒๓๓๕) เลขที่   เรื่องเศกเจ้าประเทศราชออกไปครองเมืองต่าง
()  หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (... ปฐม คเนจร) ประชุมพงศาวดารภาค พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน, ประชุมพงศาวดาร เล่ม , โรงพิมพ์คุรุสภา ๒๕๐๖, หน้า ๒๑๖
()  เพิ่งอ้าง หน้า ๒๑๕

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น